
views
ทดสอบหัวข้อที่ 1
บทนำ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น ไม่ว่าจะเป็น นิยามศัพท์ หลักการและแนวทางการคัดกรองข้อมูล ความรู้ และสื่อ กรอบการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้โดยอิงตามยุทธศาสตร์ สสส. และฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย ฐานข้อมูลชุดความรู้ สื่อ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาวะ พร้อมลิ้งก์การสืบค้น
ส่วนที่ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น
เอกสารส่วนนี้กล่าวถึงนิยามศัพท์ ที่เป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจคำหลักต่างๆ ในประเด็นอาหารเพื่อสุขภาวะ และชี้ให้เห็นถึงกรอบวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ความรู้กับกรอบคิดการทบทวนและประมวลองค์ความรู้ในประเด็นอาหาร 8 ด้าน ซึ่งเชื่อมโยงขอบเขตองค์ความรู้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างการปรับใช้สื่อ ชุดความรู้ และกระบวนการทางสังคม ในการขับเคลื่อนแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมถึง แสดงฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายประเด็นอาหาร ฐานข้อมูลชุดความรู้ สื่อ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาวะ พร้อมลิงก์การสืบค้น ไว้สำหรับเป็นคลังข้อมูลสนับสนุนการวางแผนดำเนินงานในพื้นที่ การสื่อสารเชิงประเด็นกับแต่กลุ่มวัย และการนำไปใช้เชิงนโยบาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.1 นิยามศัพท์
อาหารเพื่อสุขภาวะ (Healthy Food & Nutrition) |
อาหารที่มีคุณลักษณะทางกายภาพและส่วนประกอบทีมีคุณค่าทางโภชนาการ และมีความปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นอาหารที่่ผ่าน กระบวนการผลิตที่่คำนึงถึงการหมุนเวียนของทรัพยากรให้เกิดความสมดุุลทางธรรมชาติและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ |
ระบบอาหารที่ยั่งยืน (sustainable food system) |
ระบบอาหารที่่ให้ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการแก่ทุกคนในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สำหรับคนรุ่นต่อไปซึ่งจะไม่ลดลง หมายความว่า มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์ในวงกว้างสำหรับสังคมและมีผลกระทบเชิงบวกหรือเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ |
ปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารสุขภาวะ (food environment) |
คุณลักษณะทางด้านกายภาพเศรษฐกิจ นโยบาย สังคมวัฒนธรรมการสร้างโอกาสและเงื่อนไข ที่่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของประชาชน |
ความปลอดภัยของอาหาร |
การจัดการให้อาหารและสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์มีความปลอดภัย โดยไม่มีลักษณะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาหารที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย 1) อาหารที่มีจุลินทรีย์ก่อโรคหรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ 2) อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือสามารถสะสมในร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคหรือผลกระทบต่อสุขภาพ 3) อาหารที่ได้ผลิต ปรุง ประกอบ บรรจุ ขนส่ง หรือมีการเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ 4) อาหารที่ผลิตจากสัตว์ หรือผลผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอาจติดต่อถึงคนได้ 5) อาหารที่ผลิต ปรุง ประกอบจากสัตว์และพืช หรือผลผลิตจากสัตว์และพืชที่มีสารเคมีอันตราย เภสัชเคมีภัณฑ์หรือยาปฏิชีวนะตกค้างในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6) อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
ความมั่นคงทางอาหาร (food security) |
การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการตามวัยเพื่อการมีสุุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่่เกื้อหนุน รักษาความสมดุุลของระบบนิเวศวิทยาและความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้าย อันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร ความมั่นคงทางอาหารจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) การเข้าถึงอาหาร (Food Access) การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) และการมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) |
พลเมืองอาหาร (food citizenship) |
คนหรือผู้คนที่่ตระหนักถึงศักยภาพสิทธิบทบาทหน้าที่่ในการเข้าถึง และบริโภคอาหารที่่มีสุขภาวะ โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตนองและสังคม |
ชุมชนอาหาร (food community) |
พื้นที่่ความสัมพันธ์ของผู้คนที่่มีความตระหนักและนำสู่การร่วมสร้างอาหารที่่ดี ทำให้เกิดการเข้าถึงอาหารที่่หลากหลายปลอดภัย ทั่วถึง เป็นธรรมอาทิ การพัฒนาโรงเรียนอาหารสุขภาวะ โรงพยาบาลอำเภอสีเขียว ตลาดสีเขียวชุมชน การร่วมผลักดันอุตสาหกรรมอาหารให้มีทางเลือกเพื่อสุขภาพที่่มากขึ้นในราคาที่่เหมาะสมเป็นธรรม เป็นต้น |
เศรษฐกิจอาหาร (food economy) |
รููปแบบการประกอบการอาหารที่่ดีต่อสุขภาพโดยมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างบูรณาการขององค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่่ โดยควรได้รับการหนุนเสริมจากมาตรการหรือนโยบายของท้องถิ่นและภาครัฐ (incentive structure) |
ความรอบรู้ด้านอาหาร (food literacy) |
ความคิดอ่านเกี่ยวกับอาหารในทุกมิติ ทั้งความรู้้จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการ รวมทั้งความรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้านที่่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาหารที่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่การเลือก การเตรียมการปรุง การกิน มีการเข้าถึงข้อมูลที่่ช่วยในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ บอกต่อ ขยายผล |
กลุ่มเปราะบาง |
คนที่่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีปัญหาในการเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ คนพิการ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุุที่่มีภาวะพึ่งพิง พระสงฆ์และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเศรษฐกิจหรือด้านอื่นๆ |
5.2 การวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ความรู้กับกรอบคิดการทบทวนและประมวลองค์ความรู้ ประเด็นอาหารเพื่อสุขภาวะ
5.2.1 วิเคราะห์ตามหลักการจัดการอาหารตลอดห่วงโซ่ (Food Chain)
วิเคราะห์ตามหลักการจัดการอาหารตลอดห่วงโซ่ (Food Chain) ภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน พบว่า การกระจายตัวของสื่อ ชุดความรู้ครอบคลุมทั้ง 3 ระดับตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเป็นชุดความรู้และสื่อในระดับปลายน้ำ “การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ” มากที่สุดจำนวน 703 รายการ คิดเป็นร้อยละ 56.2 รองลงมาคืออยู่ในระดับต้นน้ำ “การผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จำนวน 448 รายการ (ร้อยละ 35.8) และน้อยสุดคือในระดับกลางน้ำ “การกระจายและการตลาดอาหารเพื่อสุขภาวะ” จำนวน 101 รายการ (ร้อยละ 8.0) ดังแผนภูมิ

5.2.2 วิเคราะห์ความสอดคล้องตามห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Change of Outcome) แผนอาหารเพื่อสุขภาวะแก้ไข
วิเคราะห์ความสอดคล้องตามห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Change of Outcome) แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยพิจารณาตามปัจจัยที่ส่งผลลัพธ์ต่อตัวกำหนดสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่
C1: ทัศนคติ ความรอบรู้ ทักษะ และพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของประชาชน
C2:วิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมอาหารตามบริบทของพื้นที่/องค์กร/ช่วงวัย
C3:ระบบเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภคด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
C : นโยบายสาธารณะที่สนับสนุนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและปกป้องระบบอาหารที่ยั่งยืน
พบว่าการกระจายตัวของสื่อ ชุดความรู้มากที่สุดใน C1 : ทัศนคติ ความรอบรู้ ทักษะ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชน จำนวน 724 รายการ (ร้อยละ 57.8) รองลงมาพบใน C2: วิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมอาหารตามบริบทของพื้นที่/องค์กร/ช่วงวัย 326 รายการ (ร้อยละ 26.0) และมากกว่า 1 ปัจจัย (C12,13,14,23,24,123) จำนวน 107 รายการ (ร้อยละ 8.6) ที่เหลืออีก 95 รายการ (ร้อยละ 7.6) กระจายตัวอยู่ใน C3-C4 ดังแผนภูมิ

5.2.3 วิเคราะห์ความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 – 2580แก้ไข
วิเคราะห์ความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 – 2580 ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงทางอาหาร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 อาหารศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ
พบการกระจายตัวของสื่อ ชุดความรู้มีมากที่สุดในยุทธศาสตร์ ที่ 3 ด้านอาหารศึกษา 662 รายการ (ร้อยละ 52.9) รองลงมาคือยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงทางอาหาร 451 รายการ (ร้อยละ 36.0) และมากกว่า 1 ยุทธศาสตร์ (ยุทธ์ 1,2, ยุทธ์ 1,4 ยุทธ์ 2,4) จำนวน 54 รายการ (ร้อยละ 4.3) ที่เหลืออีก 85 รายการ (ร้อยละ 6.8) กระจายอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ,4 ดัง แผนภูมิกราฟ
5.2.4 วิเคราะห์ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)แก้ไข
วิเคราะห์ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยพิจารณาตามเป้าหมายการพัฒนาด้านอาหารในระดับนานาชาติ/ระดับโลก ซึ่งสหประชาชาติกำหนดขึ้นภายใต้กรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย 169 ตัวชี้วัด สำหรับเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ สสส. ภายใต้แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ มี 3 เป้าหมาย ได้แก่
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทุกช่วงอายุ
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
พบว่ามีการกระจายตัวครอบคลุมทั้ง 3 เป้าหมาย จำนวนมากที่สุดในเป้าหมายที่ 2 จำนวน 509 รายการ (ร้อยละ 40.7) รองลง,มีความสอดคล้องมากกว่า 1 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 2,3 เป้าหมายที่ 2,12 เป้าหมายที่ 3,12 และเป้าหมายที่ 2,3,12) จำนวน 386 รายการ (ร้อยละ 30.8) และเป้าหมายที่ 3 จำนวน 304 รายการ (ร้อยละ 24.3) สำหรับเป้าหมายที่ 12 มีการกระจายตัวน้อยสุด จำนวน 53 รายการ (ร้อยละ 4.2) ตามลำดับ ดังแผนภูมิกราฟแสดงความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Comments
0 comment